เมนู

อรรถกถา ทสุตตรสูตร



ทสุตตรสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น

พรรณนาบทอันไม่เคยมี ในทสุตตรสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คำว่า
อาวุโส ภิกฺขเว นั้นเป็นคำร้องเรียกพระสาวกทั้งหลาย. จริงอยู่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะตรัสเรียกบริษัท ย่อมตรัสว่า ภิกฺขเว ดังนี้.
พวกพระสาวกคิดว่า เราจักตั้งพระศาสดาไว้ในที่อันสูง ดังนี้แล้วไม่ร้องเรียก
ด้วยการร้องเรียกพระศาสดา ย่อมร้องเรียกว่า อาวุโส ดังนี้ . สองบทว่า
เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระธรรมเสนาบดีเหล่านั้น ถามว่า
ก็ภิกษุเหล่านั้น คือเหล่าไหน. แก้ว่า ภิกษุผู้อยู่ไม่ประจำที่คือ ผู้ไปสู่ทิศ.
จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน 2 วาระ คือ
ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว 1 ในกาลปวารณา 1. ครั้นเมื่อดิถี
จวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ 10 รูปบ้าง 20 รูปบ้าง 30 รูปบ้าง
40 รูปบ้าง 50 รูปบ้าง เป็นพวก ๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษา ใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยว
กันอยู่. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกข้าพระองค์มาเพื่อพระกรรมฐาน ขอพระองค์จงให้พระกรรมฐานเเก่ข้า
พระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้. ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุ
เหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต ให้เมตตา-
กัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล